ข้อสอบ NETSAT Biology ชีวะ แบบเข้มข้น มาพร้อมเฉลย
ข้อสอบ NETSAT Online - NETSAT ชีววิทยา
ข้อสอบ NETSAT ชีววิทยา มีคะแนนเต็ม 100 คะแนน ให้เวลาสอบ 90 นาที เรื่องที่ออกสอบ นิเวศวิทยาและวิวัฒนาการ , สิ่งมีชีวิต พืช สัตว์ และสิ่งมีชีวิตต่างๆ , ธรรมชาติของสิ่งมีชีวิต , การถ่ายทอดลักษณะทางพันธุกรรม
1. ในกระบวนการสังเคราะห์ด้วยแสง (photosynthesis) ปฏิกิริยาไม่ใช้แสง และปฏิกิริยาใช้แสงเกิดขึ้นบริเวณใดของพืช ตามลำดับ
2. จากภาพเป็นการแบ่งเซลล์ไมโทซิส (mitosis) ในพืชชนิดหนึ่ง ถามว่าข้อใดเรียงระยะการแบ่งเซลล์ได้ถูกต้อง คือ interphase, prophase, metaphase, anaphase และ telophase ตามลำดับ
3. จงใช้ข้อมูลต่อไปนี้ในการตอบคำถาม บุคลที่เป็น tester เป็นบุคคลที่สามารถชิมสาร phenythiocarbamide (PTC) แล้วมีรสขม และบุคคลอีกพวกหนึ่งจะไม่รู้รสขมจึงถูกจัดให้เป็น non-tester ต่อมาเราทราบว่าลักษณะของการชิมสารนี้ถูกควบคุมด้วยยีนเพียงหนึ่งคู่ และลักษณะ tester (T) เป็นลักษณะเด่นที่ข่ม non-tester (t) ได้อย่างสมบูรณ์ และจากการศึกษาบุคคลที่ใช้ ทดสอบสารนี้ 228 คน พบว่า 160 เป็น tester และทีเหลือ 68 คน เป็น non-tester ถามว่าข้อใด คือ ความถี่ของยีนที่ควบคุม T และ t
4. ในการสร้างเซลล์สืบพันธุ์ของมนุษย์เพศชาย ถามว่าในกรณีที่มี 10 secondary spermatocyte จะทำการผลิตตัวอสุจิ (spermatozoa) ได้กี่ตัว
5. ข้อใดกล่าวถึงความแตกต่างระหว่างพืช C4 และ C3 ในการสังเคราะห์ด้วยแสงได้ ถูกต้องมากที่สุด
1.ผลิตภัณฑ์ตัวแรกจากการตรึง CO2จากบรรยากาศของพืช CO3 คือ PGA (คาร์บอน 3 อะตอม) ส่วนพืช CO4 คือ OAA (คาร์บอน 4 อะตอม)
2.จำนวนครั้งในการตรึง CO2 จากบรรยากาศ พืช CO3 ตรึงครั้งเดียว สำหรับพืชCO4 ตรึง 2 ครั้ง
3.เซลล์ทีมีการตรึง CO2 จากบรรยากาศ ในพืช CO3 มีเพียง mesophyll สำหรับพืช CO4 เกิดขึ้นที่
1.ผลิตภัณฑ์ตัวแรกจากการตรึง CO2จากบรรยากาศของพืช CO3 คือ PGA (คาร์บอน 3 อะตอม) ส่วนพืช CO4 คือ OAA (คาร์บอน 4 อะตอม)
2.จำนวนครั้งในการตรึง CO2 จากบรรยากาศ พืช CO3 ตรึงครั้งเดียว สำหรับพืชCO4 ตรึง 2 ครั้ง
3.เซลล์ทีมีการตรึง CO2 จากบรรยากาศ ในพืช CO3 มีเพียง mesophyll สำหรับพืช CO4 เกิดขึ้นที่
6. ข้อใดกล่าวถึงลักษณะใบของพืชป่าชายเลน (mangrove forest) ได้ ถูกต้องมากที่สุด
7. เอนไซม์ (enzyme) คือ โปรตีนที่มีความสามารถในการเร่งปฏิกิริยาทางชีวเคมีที่เกิดขึ้นภายในเซลล์ของสิ่งมีชีวิต ถามว่าข้อใดกล่าวถึงเอนไซม์ได้ ถูกต้อง มากที่สุด
1.เอนไซม์จะไม่เปลี่ยนรูปร่างหลังจากทำปฏิกิริยากับสารตั้งต้น
2.ถ้ามีความเข้มข้นของเอนไซม์มากเกินพอ ความเร็วของปฏิกิริยาจะไม่เพิ่มขึ้น เนื่องจากไม่มีสารตั้งต้นเหลือพอเข้าทำปฏิกิริยา
3. เอนไม่ทำหน้าที่เป็นตัวเร่งปฏิกิริยาเคมีให้เกิดเร็วมากขึ้น โดยการไปลดพลังงานกระตุ้นของปฏิกิริยา
1.เอนไซม์จะไม่เปลี่ยนรูปร่างหลังจากทำปฏิกิริยากับสารตั้งต้น
2.ถ้ามีความเข้มข้นของเอนไซม์มากเกินพอ ความเร็วของปฏิกิริยาจะไม่เพิ่มขึ้น เนื่องจากไม่มีสารตั้งต้นเหลือพอเข้าทำปฏิกิริยา
3. เอนไม่ทำหน้าที่เป็นตัวเร่งปฏิกิริยาเคมีให้เกิดเร็วมากขึ้น โดยการไปลดพลังงานกระตุ้นของปฏิกิริยา
8. การพัฒนาเทคโนโลยีทางการแพทย์อย่างมากในยุคปัจจุบันนี้ ทำให้มนุษย์เอาชนะปัจจัยจํากัดทางด้านวิทยาทางการแพทย์ จะส่งผลทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างประชากรของมนุษย์อย่างไร มากที่สุด
9. ขณะที่มีการเจริญเติบโตของต้นถั่วเขียว ปลายยอดของต้นถั่วเขียวจะมีการเคลื่อนที่แบบหมุนแกว่งไปแกว่งมา ถามว่าเป็นการเคลื่อนไหวแบบใด
10. ข้อใด กล่าวผิด จากการผสมพันธุ์ถั่วลันเตาทั้ง 7 คู่ลักษณะ ในการทดลองของบิดาแห่งวิชาพันธุศาสตร์ (เมนเดล)
11. ชาวสวนใช้ฮอร์โมน (hormone) ใดในการบ่มผลไม้ให้สุกเร็วขึ้น และฮอร์โมนใดที่จะยับยั้งการสุกของผลไม้
12. จากข้อมูลให้นักศึกษาตอบคำถาม ในการผสมพันธุ์ถั่วลันเตามียืนควบคุมต่อไปนี้
R = เมล็ดเรียบ
r = เมล็ดขรุขระ
Y = เมล็ดสีเหลือง
y = เมล็ดสีเขียว
T = ต้นสูง
t = ต้นเตี้ย
ทำการผสมพันธุ์ระหว่างต้นพ่อและแม่พันธุ์ที่เป็นพันธุ์แท้ (ยืนเป็น homozygous) ระหว่างเมล็ดเรียบ เมล็ดสีเหลือง และต้นสูง กับเมล็ดขรุขระ เมล็ดสีเขียว และต้นเตี้ย ถามว่าลูกในรุ่นที่ 2 (F2) มีโอกาสที่จะมีจีโนไทป์เป็น RrYyTt ในอัตราส่วนในข้อใด
R = เมล็ดเรียบ
r = เมล็ดขรุขระ
Y = เมล็ดสีเหลือง
y = เมล็ดสีเขียว
T = ต้นสูง
t = ต้นเตี้ย
ทำการผสมพันธุ์ระหว่างต้นพ่อและแม่พันธุ์ที่เป็นพันธุ์แท้ (ยืนเป็น homozygous) ระหว่างเมล็ดเรียบ เมล็ดสีเหลือง และต้นสูง กับเมล็ดขรุขระ เมล็ดสีเขียว และต้นเตี้ย ถามว่าลูกในรุ่นที่ 2 (F2) มีโอกาสที่จะมีจีโนไทป์เป็น RrYyTt ในอัตราส่วนในข้อใด
13. ในกรณีที่เป็นถั่วลันเตาต้นสูงที่เป็น TT หรือ Tt ถ้าเราทำการผสมกับตัว tester ที่เป็น tt (homozygous recessive) เพื่อที่จะทำการแยกว่าต้นถั่วลันเตาของเรามีจีโนไทป์เป็นแบบใด ถามว่าเราจะสังเกตได้จากอะไร
14. การจำแนกตามโครงสร้างชั้นเกสรเพศในดอกไม้ แบ่งดอกไม้ได้ 2 ชนิด คือ ดอกสมบูรณ์เพศ (perfect flower) และดอกไม่สมบูรณ์เพศ (imperfect flower) ข้อใดต่อไปนี้ กล่าวไม่ถูกต้อง
15. การเคลื่อนย้ายและการอพยพของสิ่งมีชีวิตชนิด (species) เดียวกัน จากประชากรหนึ่งไปสู่อีกประชากรหนึ่ง และเกิดการผสมพันธุ์ระหว่างกันได้ ส่งผลทำให้แอลลีล (alleles) จากประชากรหนึ่งถูกถ่ายทอดไปให้อีกประชากรหนึ่ง ถามว่าจะเกิดอะไรขึ้นกับ 2 ประชากรนี้
16. ในการตัดถนนเข้าไปในพื้นที่ป่าที่อุดมสมบูรณ์แห่งหนึ่งที่ยังไม่มีการบุกรุกโดยมนุษย์ เมื่อกาลเวลาได้ผ่านไปอีกหลายร้อยปี ถามว่าตามหลักการวิวัฒนาการ (evolution) ของสิ่งมีชีวิต จะมีโอกาสเกิดสิ่งใดขึ้นได้มากที่สุด
17. จากการที่สัตว์ชนิดหนึ่งสามารถทนทานต่อปัจจัยต่าง ๆ ในสิ่งแวดล้อมได้ในช่วงกว้าง เช่น อุณหภูมิ ความชื้น เป็นต้น ถามว่าจะส่งผลทำให้เกิดอะไรขึ้นกับสัตว์ชนิดนี้
18. จากข้อมูลต่อไปนี้ให้นักศึกษาตอบคำถาม
DNA สายที่แรก 5' ATGCCTGAATTCTAA 3'
DNA สายที่สอง 3' 5'
ถามว่าในกรณีที่ดีเอ็นเอสายที่สองเป็นแม่พิมพ์สร้าง m-RNA ออกมา ข้อใด คือ สาย m-RNA ที่ได้จากการสร้างของดีเอ็นเอสายที่สอง
DNA สายที่แรก 5' ATGCCTGAATTCTAA 3'
DNA สายที่สอง 3' 5'
ถามว่าในกรณีที่ดีเอ็นเอสายที่สองเป็นแม่พิมพ์สร้าง m-RNA ออกมา ข้อใด คือ สาย m-RNA ที่ได้จากการสร้างของดีเอ็นเอสายที่สอง
19. ในกรณีที่พืชมีจำนวนโครโมโซมดิพลอยด์ (diploid) เท่ากับ 4 แท่ง ถามว่าเมื่อสิ้นสุดการแบ่งเซลล์เพื่อสร้างเซลล์สืบพันธุ์ (meiosis) จะมีจำนวนโครโมโซม และโครมาทิดเป็นเช่นใด
20. ในกรณีที่เซลล์นำสารอะซิติลโคเอนไซม์ เอ (acetyl CoA) จำนวนเท่ากับ 5 โมเลกุล (molecule) แล้วนำเข้าสู่ไมโทคอนเดรีย (mitochondrion) ถามว่าจะผลิด ATP (adenosine triphosphate) ได้จำนวน
21. การศึกษาขนาดของประชากรสัตว์ด้วยวิธีทำเครืองหมายและจับนำ (mark and recapture method) ในประชากรหนูชนิดหนึ่งที่อาศัยอยู่ในทุ่งหญ้าพื้นที่หนึ่ง ครั้งแรกดักจับมาได้ 20 ตัว แล้วทำเครื่องหมายแล้วปล่อยกลับเข้าไปในพื้นที่เดิม อีก 3 เดือนต่อมาทำการดักจับหนูมาได้ 30 ตัว พบว่าเป็นหนูที่ทำเครื่องหมายไว้ในการดักจับครั้งแรก 5 ตัว ถามว่าประชากรหนูชนิดนี้ในทุ่งหญ้าแห่งนี้มีอยู่ประมาณกี่ตัว
22. ข้อใดบอกหน้าที่ของน้ำมะพร้าว และเนื้อมะพร้าวได้ ถูกต้อง มากที่สุด
23. ในการสำรวจหมู่เลือด MN ของประชากรกลุ่มหนึ่ง ได้หมู่เลือดต่าง ๆ ดังนี้
หากว่าบุคคลในประชากรมีการแต่งงานแบบสุ่ม ในชั่วรุ่นต่อไปความถี่ของสภาพยืนดังกล่าว จะไม่มีการเปลี่ยนแปลง เราสามารถหาค่าคาดหวัง (expected, E) การกระจายตัวของหมู่เลือด MN นี้ได้จากประชากรที่เราใช้ในการศึกษาทั้งสิ้น 200 คน ถามว่าจะมีคนที่มีหมู่เลือด MM ประมาณกี่คน
หากว่าบุคคลในประชากรมีการแต่งงานแบบสุ่ม ในชั่วรุ่นต่อไปความถี่ของสภาพยืนดังกล่าว จะไม่มีการเปลี่ยนแปลง เราสามารถหาค่าคาดหวัง (expected, E) การกระจายตัวของหมู่เลือด MN นี้ได้จากประชากรที่เราใช้ในการศึกษาทั้งสิ้น 200 คน ถามว่าจะมีคนที่มีหมู่เลือด MM ประมาณกี่คน
24. ข้อใดต่อไปนี้กล่าว ไม่ถูกต้อง
25. ภาวะสมดุล (equilibrium) ของความถี่ยีน (gene frequency) ในประชากรหนึ่ง ๆ จะคงที่ต้องอยู่ในเงื่อนไขในข้อใด
1. แต่ละจีโนไทป์ (genotype) มีความสามารถในการสืบพันธุ์ในอัตราที่เท่ากัน
2. ประชากรต้องมีจำนวนที่มากพอ
3. มีการแต่งงาน หรือผสมพันธุ์แบบสุ่ม (random mating)
1. แต่ละจีโนไทป์ (genotype) มีความสามารถในการสืบพันธุ์ในอัตราที่เท่ากัน
2. ประชากรต้องมีจำนวนที่มากพอ
3. มีการแต่งงาน หรือผสมพันธุ์แบบสุ่ม (random mating)
26. พระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พ.ศ. 2562 ได้บรรจุบัญชีสัตว์ป่าสงวนของไทยไว้ จำนวน 19 ชนิด ได้แก่ กระขู่ กวางผา กูปหรือโคไพร เก้งหม้อ ควายป่า พะยูนหรือหมูน้ำ แมวลาย หินอ่อน แรด ละองหรือละมั่ง เสียงผาหรือเรื่องหรือกูรำหรือโครำ วาฬบรูด้า วาฬโอมูระ สมเสร็จ สมันหรือเนื้อสมัน นกกระเรียน นกเจ้าฟ้าหญิงสิรินธร นกแต้วแล้วท้องดำ เต่ามะเฟือง ปลาฉลาม วาฬ จากรายชื่อทั้งหมด สัตว์ป่าสงวนชนิดใดที่สูญพันธุ์ไปจากโลกนี้เรียบร้อยแล้ว
27. สัตว์ที่มีสิ่งปกคลุมร่างกายเรียกว่า “feather” เป็นสัตว์ที่จัดอยู่ในชั้น (Class) ใด
28. ลักษณะตามข้อใดที่พบในสิ่งมีชีวิตกลุ่มที่เรียกว่า K-selected species เมื่อเปรียบเทียบกับ r-selected species
29. ดีดีที (DDT, Dichlorodiphenyltrichloroethane) เป็นยาฆ่าแมลงที่มักพบปนเปื้อนตาม แหล่งน้ำในพื้นที่เกษตรกรรม สิ่งมีชีวิตในข้อใดมีปริมาณการสะสมของดีดีที่มากที่สุด
30. โรคพยาธิใบไม้ในตับคนเกิดจากสัตว์ในไฟลัม (Phylum) ใด
31. สัตว์ในไฟลัม (Phylum) ใดที่เซลล์ยังไม่มีการพัฒนาเป็นเนื้อเยื่อที่ชัดเจน
32. กลุ่มสัตว์ดิวเทอโรสโตเนีย (Deuterostomia) มีบลาสโทพอร์ (blastopore) พัฒนาไปเป็นส่วนของทวารหนัก (anus) สัตว์ในฟลัม (Phylum) ใดจัดอยู่ในกลุ่มดิวเทอโรสโตเนีย
33. ปลาแซลมอนตัวเมียจะวางไข่ทีละ 2,000 ถึง 10,000 ฟอง ขึ้นอยู่กับชนิด จากข้อมูลดังกล่าวปลาแซลมอนถูกจัดอยู่ในกราฟของการอยู่รอด (Survivorship curve) ประเภทใด
34. ข้อใดต่อไปนี้ที่บอกถึงชนิดย่อย (subspecies)
35. ข้อใดกล่าวไม่ถูกต้องเกี่ยวกับการแลกเปลี่ยนแก๊สในสัตว์มีกระดูกสันหลัง
36. ข้อใดกล่าวถึงหน้าที่ของฮอร์โมนไม่ถูกต้อง
37. ข้อใดคือความหมายของคำว่า ประชากร (Population)
38. ส่วนใดของระบบย่อยอาหาร (digestive system) ที่มีการย่อยและการดูดซึมอาหารมากที่สุด
39. สมองส่วนใดที่มีความเกี่ยวข้องสัมพันธ์กับการใช้ภาษาและการมีเหตุผล
40. สัตว์เคี้ยวเอื้อง (ruminant) มีกระเพาะอาหาร 4 ส่วน ส่วนใดที่ทำหน้าที่เป็นกระเพาะที่แท้จริงและทำหน้าที่ในการย่อยอาหาร
41. เส้นเลือดใดที่ทำหน้าที่นำเลือดที่มี CO2 ไปฟอกที่ปอด
42. โครงสร้างใดที่ทำหน้าที่เกี่ยวกับการทรงตัวของสัตว์
43. เม็ดเลือดขาว (Leukocyte) ชนิดใดที่ทำหน้าที่เกี่ยวกับการสร้างแอนติบอดี (antibody)
44. ข้อใดกล่าวผิดเกี่ยวกับการเติบโตแบบ Exponential growth ของประชากร
45. ไฟลัม Porifera มีโครงสร้างที่ช่วยค้ำจุนร่างกายเรียกว่าอะไร
46. ข้อใดกล่าวไม่ถูกต้องเกี่ยวกับฟีโรโมน (Pheromone)
47. ข้อใดกล่าวไม่ถูกต้องเกี่ยวกับหัวใจ
48. นักเรียนคนหนึ่งมีความสนใจอยากเรียนเกี่ยวกับซาลาแมนเดอร์ (Salamander) นักเรียนคนดังกล่าวควรเลือกเรียนวิชาในข้อใดมากที่สุด
49. ข้อใดกล่าวไม่ได้ถูกต้องเกี่ยวกับวิธีการทางวิทยาศาสตร์ (Scientific method)
50. วิธีการทางวิทยาศาสตร์ (Scientific method) มีลำดับขั้นตอนเป็นขั้น ๆ ดังข้อใดต่อไปนี้
ข้อสอบ NETSAT Online - NETSAT ชีววิทยา
You got {{userScore}} out of {{maxScore}} correct
{{title}}
{{image}}
{{content}}